วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555


หน่วยที่8
การใช้เทคโนโลยีในการนำเสนองาน
หลักการนำเสนอผลงาน
           ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การทำธุรกิจหรือว่าการศึกษาก็แล้วแต่นั้น จะเห็นได้ว่าเกือบทุกกิจกรรมของมนุษย์นั้นจำเป็นที่จะต้องมีการสื่อสารอธิบายให้ผู้อื่นได้ทราบ ฉะนั้นก็เลยมีความจำเป็นในเรื่องของการนำเสนอข้อมูลต่าง ซึ่งปัจจุบันนี้ในวงการต่าง หรือว่าในสถาบันการศึกษา การนำเสนอข้อมูลเพื่อให้ผู้ที่เราต้องการจะอธิบายให้ฟังได้เข้าใจและรับทราบโดยรวดเร็วส่วนใหญ่ก็มักจะนำเสนอโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟท์ power point มักจะเรียกกันสั้น ว่าโปรแกรม power point เพราะว่าโปรแกรมตัวนี้เป็นโปรแกรมที่ใช้ ในการนำเสนอ
เครื่องมือที่ใช้ในการนำเสนองาน
โปรแกรม power point ปัจจุบันนั้นมีลูกเล่นได้สารพัด ฉะนั้นการที่มีลูกเล่นสารพัดนั้นบางทีกลายเป็นจุดที่ทำให้เวลาผู้ฟังหรือผู้ดูนั้นเกิดความสับสน ฉะนั้นอยากจะ เรียนแนะนำในเบื้องต้น อย่าพยายามที่จะทำเทคนิคพิเศษจนมากเกินไป จนไป บดบังความสำคัญของเนื้อหา และนอกนั้นจะมีเทคนิคพิเศษนิดหน่อยคืออย่างเช่น สามารถที่จะสีของตัวอักษร หรือสี background หรือสีพื้นหลังอย่าตัดกันให้มากเช่น ถ้าตัวอักษรสีขาว พื้นหลังควรจะเป็นสีเข้มเช่นสีน้ำเงินหรือสีเข้ม อย่าใช้สีอ่อนเพราะจะมองไม่ค่อยเห็น นอกจากนี้ภาพที่มานำเสนอนั้นจะต้องให้มีความสอดคล้องกลมกลืนกับเรื่องที่นำเสนอ และอย่าให้ภาพนั้นสำคัญมากจนกระทั่งไปลดความสำคัญของเนื้อหาสาระที่นำเสนอ แต่ถ้าเราสามารถใช้ภาพที่จะอธิบายแทนสาระหรือข้อความที่เป็นหนังสือยาว ได้ก็จะเป็นการดี
รูปแบบการนำเสนองาน
          1. ก็คือว่าจะต้องเขียนหัวข้อของเรื่องการนำเสนอไว้ทุกครั้ง คือเป็นหัวข้อที่อธิบายหลักการสำคัญคือแก่นของเรื่องที่จะนำเสนอในPower point แผ่นนั้นไว้ เนื่องจากว่าต้องการจะเรียนรู้ได้ง่ายขึ้นถ้าสิ่งที่นำเสนอมีการจัดรูปแบบหรือว่ามีหัวข้อที่ชัดเจน ลองนึกถึงพาดหัวหนังสือพิมพ์บางฉบับจะพาดเก่งมากเลยคืออ่านแค่พาดหัวแทนจะรู้ทั้งหมดเลย เขาบอกว่าถ้าทำได้อย่างนั้นจะดียิ่ง เพราะฉะนั้นจะต้องมีหัวข้อที่จะนำเสนอไว้ทุกครั้งไม่ใช่ออกมามีเนื้อหาเลย
          2. อย่าพยายามใส่ทุกอย่างลงไปในสไลด์แผ่นเดียวหรือ power point ที่นำเสนอแต่ละหน้านั้นก็ใส่เท่าที่เราต้องการเน้น เนื่องจากว่าคนเราจะเรียนรู้ได้ง่ายกว่า ถ้าข้อมูลที่ได้นั้นมีขนาดที่พอเหมาะไม่มากเกินไป ถ้าพยายามที่จะนำข้อมูลต่าง ใส่ลงไปในสไลด์แผ่นเดียวก็จะกลายเป็นการยัดเยียดข้อมูลให้ผู้รับมากเกินไปซึ่งก็อาจจะอะไรไม่ได้เพราะมากเกินไป
          3. อย่าพยายามใส่เนื้อหาที่เป็นข้อความให้มากเกินไปเนื่องจากว่าโดยธรรมชาติของมนุษย์นั้นถ้าเป็นภาพ มนุษย์จะรับรู้ได้ดีกว่าเป็นข้อความเยอะ ฉะนั้นเวลาที่ใช้ภาพ อาจจะใช้แทนคำพูดได้เป็นร้อย ภาพ หลักข้อนี้ก็อย่าพยายามที่จะใส่เนื้อหาเข้ามาให้มากจนเกินไปแต่เราต้องการที่จะขยายความรายละเอียดก็วิธีการอธิบายเพิ่มเติมจะดีกว่า
          4. ถ้าหากว่ามีความจำเป็นที่จะต้องมีขัอความที่เป็นลักษณะของข้อเขียน ซึ่งบางครั้งก็เลี่ยงไม่ได้เหมือนกัน ซึ่งบางครั้งจำเป็นที่จะต้องใส่ข้อความหรือตัวหนังสือ ท่านก็แนะว่าก็ควรที่จะมีรูปประกอบด้วย เนื่องจากว่าคนเรามีแนวโน้มหรือมีความชอบที่จะเรียนรู้หรือดูภาพมากกวาที่จะดูข้อความหรือตัวหนังสือเยอะ
     5. สิ่งใดก็แล้วแต่ที่ไม่สนับสนุนให้เกิดการรับรู้ในแต่ละเฟรมแต่ละสไลด์นั้นก็ไม่ควรจะใส่ลงไป เช่นบางทีก็ใส่อะไรเข้าไปไม่รู้ในสไลด์ power point ซึ่งไม่เกี่ยวกับเนื้อหาที่นำเสนอเลยซึ่งลักษณะนี้จะทำให้คนที่ดูหรือฟังเกิดความสับสนเนื่องจากว่าสมองคนเราในการรับรู้แต่ละภาพแต่ละเฟรมไม่อาจจะรับรู้รายละเอียดได้ทั้งหมด สมองคนเรานั้นจะรับรู้เฉพาะในส่วนที่เป็นแก่นสำคัญของเรื่องก็เป็นคำแนะนำที่ท่านอาจารย์ได้ให้คำแนะนำ และตรงกับที่ผมคิดอยู่